Welcome to the website of innovative educational technology and information supplied by Ms. Piyapon Chawdorn

..Unit 4..

หน่วยที่ 4  

จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมาย                      

จิตวิทยาการเรียนรู้
    
       จิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์

จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology)
  
      จิตวิทยาการศึกษา คือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน

-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

หลักการสำคัญ

1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

ความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

1ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา
2ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ  ช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
3ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว  นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
4ทฤษฎีการเรียนรู้  ช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ    ผู้เรียน 
5ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา ช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
6หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ
7หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา  ช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่  
8การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา มีดังนี้

1.การนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
2.ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
  
แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism)
- วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
- ทิชเชนเนอร์ (Titchener)
เฟชเนอร์ ( Fechner)

วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt) เป็นคนแรกที่ตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น เขาเชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
1.การสัมผัส (Sensation)
2.ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Titchener)ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก 1 ส่วน คือ
3.จิตนาการ (Image)
กลุ่มโครงสร้างจิตอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาของตนต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทางประสาทสัมผัส ศึกษาจิตสำนึก (Consciousness)
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา จิตของคนแยกเป็นส่วน ๆ ทำให้เกิดแนวคิดว่า ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถหรือทักษะด้านใด ก็ฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ เช่น ครูต้องการให้นักเรียนผู้นั้นมีความจำ ก็ให้ผู้เรียนเรียนสิ่งที่ต้องอาศัยความจำ

2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
- จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)
- วิลเลียม เจมส์ (Williaam James)
- วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH)

กลุ่มหน้าที่จิต เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
จอน์ ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา

3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior) - วัตสัน (John B.Watson)
- พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา เป็นแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมและการจัดสถานการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน

4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
- ฟรอยด์ (Sigmund Freud)

ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น 3 ส่วน
1.จิตสำนึก (Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
2.จิตใต้สำนึก (Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
3.จิตไร้สำนึก (Unconscious)
ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม

แนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ลักษณะ
1.   (Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก
2.  (Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
3.  (ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น ๆ ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ใช้อธิบายเรื่องอิทธิพลของการพัฒนาในวัยเด็กที่มีผลต่อบุคลิกตอนโต

5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
- เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)

Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม 

พฤติกรรมการเรียนรู้มี 2 ลักษณะ

1.การรับรู้ (Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้
2.การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ การหยั่งเห็น (Insight) เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไปใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน

การเรียนรู้

       การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory leaning) แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ

1.              ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Associative)
การเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้ามาเชื่อมโยงทำให้เกิดการตอบสนองขึ้น
แบ่ง 2 กลุ่ม

  • ทฤษฎีความเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism)
นักทฤษฎี Thorndike ,Guthrie ,Hull
ทฤษฎีเชื่อมโยง Thorndike หรือเรียกว่า ทฤษฎีลองผิดลองถูก (Trial and Error) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

หลักการ ที่สำคัญของทฤษฎีนี้ ถือว่า รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ วิธีการให้รางวัลสมควรให้ผู้เรียนให้ทันทีที่ได้กระทำพฤติกรรมนั้น

  • ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ของ Pavlov
วางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข = การเรียนรู้
ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการวางเงื่อนไขพร้อม ๆ กัน คือให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขในเวลาพร้อมกัน

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Skinner’ s Operant Conditioning)
เป็นหลักในการนำมาสร้างบทเรียนโปรมแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป (จะมีคำถามและคำตอบ)

2.ทฤษฎีความเข้าใจ (สนาม)
ได้แก่ Gestalt

สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ แต่ละท่านได้ดังนี้

1.การเรียนรู้แบบหยั่งรู้ (Insight Learning) เจ้าของทฤษฎีคือ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยจะรวมปัญหาแล้วจึงแยกเป็นข้อย่อย ก็จะเกิดความคิดขึ้นมาทันที ที่เรียกว่าการหยั่งเห็น การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นอยู่กับ
1. มีแรงจูงใจ
2. มีประสบการณ์เดิม
3.มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับปัญหาได้

2.หลักการเรียนรู้ของ เลอวิน (Kurt Lewin) ได้แยกมาตั้งทฤษฎีใหม่ ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การเรียนรู้เกิดจากการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น แล้วพยายามชักนำพฤติกรรมการเรียนรู้ไปจุดหมายปลายทาง (goal) เพื่อตอบสนองแรงขับที่เกิดขึ้น

การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

การถ่ายโยงการเรียนรู้มี 2 ประเภท
1. การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทบวก (Positive Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการเรียนรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางดีขึ้น
2. การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทลบ (Negative Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางเลวลง

องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน

1.วุฒิภาวะ (Maturity) การเจริญทั้งร่างกาย จิตใจ
2.ประสบการณ์เดิม (Experience)
3.การจัดบทเรียนของครู โดยดูพื้นฐานของเด็กว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบางมากน้อยเพียงใด
4.การสอนของครู ครูควรสอนเมื่อนักเรียนมีความพร้อม และครูเป็นผู้สร้างความพร้อมให้กับนักเรียน

ทัศนคติ
    ความพร้อมของร่างกาย จิตใจที่มีแนวโน้มจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ใด ๆ ด้วยการเข้าหาหรือถอยหนี ทัศนคติจึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก

ความสนใจ (Interest) 
     ความสนใจเป็นความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ทัศนคติทางบวก) ความสนใจของนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันเพราะ ความต้องการ ถนัด สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น