Welcome to the website of innovative educational technology and information supplied by Ms. Piyapon Chawdorn

..Unit 3..

หน่วยที่ 3  

การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน




ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร (Theories about communication)     
       ทฤษฎีการสื่อสาร คือการอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ หลักการ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร สภาพปัญหา และแนวโน้มในอนาคต รวมทั้งการอธิบายแนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร

ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร
     ทฤษฎีการสื่อสารโดยรวมจัดว่าเป็นแก่นหรือองค์ความรู้ในทางนิเทศศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และการปฏิบัติงานทางด้านนิเทศศาสตร์โดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม... โดยทางตรง อาทิ การสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์... โดยทางอ้อม อาทิ การสื่อสารภายในบุคคล (จิตวิทยา) การสื่อสารระหว่างบุคคล (จิตวิทยาและสังคมวิทยา) การสื่อสารภายในองค์กร (การบริหารองค์กร) การสื่อสารของประเทศ (รัฐศาสตร์)

ทฤษฏี SMCR ของเบอร์โล (Berio)

ทฤษฏี S M C R ประกอบด้วย
 1. ผู้ส่ง (source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน การเข้ารหัส” (encode) เนื้อหาข่าวสาร ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
2. ข้อมูลข่าวสาร (message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร
3. ช่องทางในการส่ง (channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสาร ข้อมูลโดยผ่านประสานทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
4. ผู้รับ (receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน การถอดรหัส” (decode) สาร ผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อสารความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล
      ตามลักษณะของทฤษฏี S M C R นี้ มีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและรับที่จะทำการสื่อสารความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่
1. ทักษะในการสื่อสาร (communication skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับการเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง
2. ทัศนคติ (attitudes) เป็นทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับ มีทัศนคติที่ดีต่อกันจะทำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับด้วย
3. ระดับความรู้ (knowledge levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่แตกต่างกันย่อมจะต้องมีการปรับปรุงความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในเรื่องความยากง่ายของภาษาและถ้อยคำสำนวนที่ใช้
4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม (socio - culture systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในประเทศนั้น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกัน

การสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์
      
      จากทฤษฏีการสื่อสารนี้พิจารณาได้ว่า แชนนันและวีเวอร์สนใจว่าเมื่อมีการสื่อสารกันจะมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า หรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่าง ๆ เช่น เมื่อมีการเปิดเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ เสียงเพลงนั้นจะถูกแปลงเป็นสัญญาณและส่งด้วยการกล้ำสัญญาณ (modulation) จากสถานีวิทยุไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยเครื่องรับจะแปลงสัญญาณคลื่นนั้นเป็นเพลงให้ผู้รับได้ยิน ในขณะที่สัญญาณถูกส่งไปจะมีสิ่งต่าง ๆ สิ่งรบกวน” (noise source) เช่น ในการส่งวิทยุระบบ AM สัญญาณจะถูกรับกวนโดยไฟฟ้าในบรรยากาศ หรือในขณะที่ครูฉายวิดีทัศน์ในห้องเรียน

การสื่อสารเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์
      
      ในแบบจำลองการสื่อสารเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์ไม่ได้กล่าวถึงตัวถ่ายทอดการสื่อสารเลยแต่ได้เน้นถึงการกระทำของผู้ส่งและผู้รับซึ่งทำให้ที่อย่างเดียวกันและเปลี่ยนบทบาทกันไปมาในการเข้า รหัสสาร การแปลความหมาย และการถอดรหัสสาร อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าหน้าที่ในการเข้า รหัสนั้น มีส่วนคล้ายคลึงกับตัวถ่ายทอด และการถอดรหัสก็คล้ายคลึงกับการับของเครื่องรับนั่นเอง

ขอบข่ายประสบการณ์ในทฤษฏีการสื่อสารของชแรมม์
      
      จากทฤษฏีการสื่อสารของชแรมม์เนื่องจากในการสื่อสารเราไม่สามารถส่ง ความหมาย” (meaning) ของข้อมูลไปยังผู้รับได้ สิ่งที่ส่งไปจะเป็นเพียง สัญลักษณ์” (symbol) ของความหมายนั้น เช่น คำพูด รูปภาพ เสียงเพลง ท่าทาง ฯลฯ ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้ส่งต้องพยายามเข้ารหัสสารซึ่งเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งสารแต่ละสารจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย โดยที่สัญลักษณ์แต่ละตัวจะบ่งบอกถึง สัญญาณ” (signal) ของบางสิ่งบางอย่างซึ่งจะทราบได้โดยประสบการณ์ของคนเรา เช่น เมื่อยกมือขึ้นเป็นสัญญาณของการห้อมหรือเมื่อตะโกนเสียงดังเป็นสัญญาณของความโกรธ ฯลฯ
     จากทฤษฏีการสื่อสารที่กล่าวมาแล้วอาจสรุปได้ว่า ในการสื่อสารนั้นการที่ผู้ส่งและผู้รับจะสามารถเข้าใจกันได้ดีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทักษะ ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่าย ถ้าทั้งผู้ส่งและผู้รับมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สอดคล้องกันมากจะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะต่างฝ่ายจะมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถขจัดอุปสรรค์ในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและ ผู้รับออกไปได้

ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร

        การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน                

ความหมายของการสื่อสาร 

       การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล







ความสำคัญของการสื่อสาร 

การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร  
2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนใน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง          

5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน

11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี


องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน

1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
 5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
 6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับ

หลักในการสื่อสาร

1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร
2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ
4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม
5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์
6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร
7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ

วัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
  1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)                
  2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) 
  3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain
  4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade)    
  5.  เพื่อเรียนรู้ (learn)   
  6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide

ประเภทของการสื่อสาร
1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
     1.1การสื่อสารภายในตัวบุคคล เช่น ร้องเพลงฟังเอง
     1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น  การคุยโทรศัพท์
2. การเห็นหน้ากัน
     2.1การสื่อสารแบบเผชิญหน้า เช่น การประชุมสมัมนา
    2.2การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า เช่น การดูโทรทัศน์
3.ความสามารถในการโต้ตอบ
    3.1การสื่อสารทางเดียว เช่น การสื่อสารมวลชนทุกชนิด
    3.2 การสื่อสารสองทาง เช่น การพูดคุย / การสนทนา
4.ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสาร
    4.1การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ เช่น ชาวไทยสื่อสารกับคนต่างประเทศ
    4.2การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เช่น การสื่อสารระหว่างคนไทย ภาคอีสานกับภาคกลาง
    4.3การสื่อสารระหว่างประเทศ เช่น การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
5.การใช้ภาษา
   5.1การสื่อสารเชิงวัจนภาษา เช่น การพูด การบรรยาย
   5.2การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา เช่น การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ

อุปสรรคของการสื่อสาร

อุปสรรคในการสื่อสารเกิดขึ้นได้ 4 ช่องทาง
1. จากผู้ส่งสาร คือ ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาร ขาดวิธีการถ่ายทอด หรือการนำสอนที่ดี
2.จากสาร คือ สารนั้นไม่เหมาะสมกับผู้รับสารนั้น  ขาดการจักลำดับขั้นตอนที่ดี ขาดความชัดเจน
3.จากสื่อ หรือช่องทางในการสื่อสาร คือ การใช้สื่อไม่เหมาะกับการนำเสนอ การใช้สื่อไม่มีประสิทธิภาพ
4.จากผู้รับสาร คือ ผู้รับสารขาดความรู้เกี่ยวกับสารนั้น  ผู้รับสารมีทศันคติไม่ดีต่อสารและผู้ส่งสาร





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น